http://klangbattery.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

สถิติ

เปิดเว็บ11/07/2008
อัพเดท09/08/2022
ผู้เข้าชม303,523
เปิดเพจ379,701

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ

คลังแบตเตอรี่

มารู้จักแบตเตอรี่รถยนต์กันค่ะ

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
iGetWeb.com
AdsOne.com

แบตเตอรี่ รถยนต์ ถ้ารถยนต์ไม่มีแบตเตอรี่ ??

แบตเตอรี่ รถยนต์ ถ้ารถยนต์ไม่มีแบตเตอรี่ ??

Battery ยอดนิยม แบตเตอรี่ ตะกั่วกรด

ถ้ารถยนต์ไม่มี แบตเตอรี่ เวลาสตาร์ท คงต้องคอยเอาเชือกหรือประแจมาหมุนเครื่องยนต์เพื่อเริ่มการจุดระเบิด และในเวลาค่ำคืนก็คงต้องขับรถด้วยความมืดมิด  คงไม่มีใครสงสัยในประโยชน์ของแบตเตอรี่แต่ทำไมแบตเตอรี่ ที่ใช้ในรถยนต์ ต้องเป็นชนิดตะกั่วกรด

          แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดเป็น แบตเตอรี่ แบบชาร์จได้ที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดา แบตเตอรี่ ด้วยกันประดิษฐ์ขึ้นมา โดยแกสตัน พลองด์  (Gaston Plante') นักฟิกสิกส์ชาวฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ.1859 (พ.ศ.2402) เป็น แบตเตอรี่ แบบชาร์จได้ชนิดแรกที่ทำออกมาเพื่อการค้า และในปัจจุบันยังมีการใช้งานกันอยู่อย่างแพร่หลาย โดยมักจะทำเป็น แบตเตอรี่ ที่มีความจุ (Capacity) สูง ๆ ที่ให้กระแสได้มาก เนื่องจากมีต้นทุนในการเก็บพลังงานถูกกว่า แบตเตอรี่ ชาร์จได้ชนิดอื่น ๆ นิยมใช้กันในรถยนต์และยานพาหนะต่าง ๆ (Vehicle), รถยกไฟฟ้า (Fork Lift), รถเข็น (Wheel Chair), สกู๊ตเตอร์  (Scooter), รถกอล์ฟ  (Golf Car), ระบบสำรองไฟฟ้า (UPS) และระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉิน (Emergency Light)

          ในตอนแรก แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดที่ผลิตออกมาจำหน่ายมีเฉพาะที่เป็น แบตเตอรี่ แบบเปียก (Flooded Type หรือ Wet Type) ที่ต้องคอยเติมน้ำกลั่นเท่านั้น จนกระทั่งในช่วงกลางของทศวรรษที่ 70 (ระหว่างปี พ.ศ.2513-2523) ได้มีการพัฒนา แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดแบบแห้งให้ใช้งานได้หลังจากที่มีการจดสิทธิบัตรมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1957(พ.ศ.2500) โดยอ๊อตโต จาเช่ (Otto Jache) ทำให้การใช้งานสะดวกขึ้นสามารถวางตำแหน่งของ แบตเตอรี่ ได้หลายรูปแบบมากขึ้น วางนอนหรือวางตะแคงได้ (แต่ห้ามวางกลับหัว) ไม่จำเป็นต้องวางในแนวตั้งเพียงอย่างเดียวเพราะอิเล็กทรอไลต์ที่เป็นน้ำกรดจะไม่ไหลหกออกมาเหมือน แบตเตอรี่ แบบเปียก ซึ่งเทคนิคในการทำให้ น้ำกรดไม่ไหลออกมา คือ การใช้วัสดุดูดซับน้ำกรดเอาไว้ จากนั้นจึงทำการผนึกเซล (Seal) ให้ปิดสนิทเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำและแก๊ส ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำกรด แบตเตอรี่ จึงไม่มีการสูญเสียอิเล็กทรอไลต์ออกไปจาก แบตเตอรี่ 

การแบ่งประเภทของ แบตเตอรี่ ตะกั่วกรด

          แบตเตอรี่ แบบแห้งจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือประเภทที่ใช้เจลเป็นวัสดุดูดซับกรดเรียกว่า แบตเตอรี่ แบบเจล (Gel Battery or GelCell) และประเภทที่ใช้แผ่นซิลิกาไฟเบอร์เป็นตัวดูดซึม เรียกว่า แบตเตอรี่ แบบ AGM (AGM Battery)ซึ่งลักษณะการแบ่งประเภทแบบนี้เป็นการแบ่งตามลักษณะโครงสร้างทางกายภาพ ของ แบตเตอรี่ แต่การแบ่งประเภทของ แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดยังแบ่งได้อีกลักษณะหนึ่งคือ การแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งาน โดยจะแบ่งเป็น แบตเตอรี่ แบบใช้งานทั่วไป หรือแบบที่ใช้สำหรับสตาร์ทเครื่องยนต์ แบบคายประจุลึกและแบบลูกผสม

          ความแตกต่างระหว่าง แบตเตอรี่ แบบเจลและแบบ AGM  คือ แบตเตอรี่ แบบเจลจะเป็น แบตเตอรี่ ที่แห้งกว่าแบบ AGM ถ้าเปลือกนอกของมันแตกจะไม่มีน้ำกรดไหลหรือซึมออกมา แต่สำหรับแบบ AGM จะซับน้ำกรดได้ประมาณ 95%  ดังนั้นถ้าเปลือกของมันแตกแม้น้ำกรดจะไหลออกมา แต่ก็อาจจะมีการซึมออกมาได้บ้างเล็กน้อย

          ในปัจจุบันจะนิยมใช้ แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดแบบ AGM มากกว่าแบบเจล ส่วนแบบเจลมีการใช้น้อยลงเนื่องจากมีข้อเสีย คือ  เจลมักจะละลายเมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อยและถ้าเกิดการโอเว่อร์ชาร์จขึ้นเจลอาจจะเปลี่ยนรูปเป็นสารเหนียว ๆ ที่เรียกว่า วอยด์(Void)    ไปเกาะติดแน่นอยู่ที่แผ่นธาตุขัดขวางการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างอิเล็กทรอไลต์และแผ่นธาตุ    ทำให้ประสิทธิภาพของ แบตเตอรี่ ลดลง      

          แบตเตอรี่ ทั้งแบบ AGM และแบบเจลยังแบ่งย่อยออกได้เป็น แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดแบบปิดผนึกหรือ SLA (Sealed Lead Acid) และแบบปิดผนึกที่มีวาล์วระบายแรงดันหรือ VRLA (Valve Regultor Lead Acid) แบตเตอรี่แบบ VRLA นี้จะมี การติดตั้งเซฟตี้วาล์ว (Safety Valve) เพื่อใช้ระบายแก๊สในกรณีที่ความดันภายในเซลสูงเกินไป เพื่อป้องกัน แบตเตอรี่ เสียหาย

          การชาร์จ แบตเตอรี่ ทั้ง 2 ประเภท คือ SLA and VRLA จะต้องไม่ชาร์จเร็วหรือมากจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแก๊สในขณะชาร์จมากนัก การชาร์จมากหรือเร็วเกินไปจะทำให้ปฎิกิริยาเคมีภายในเซลส์ดูดซัดแก๊สที่เกิดขึ้นไม่ทัน ความดันภายในแบตเตอรี่

จะสูงขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญเสียแก๊สและน้ำออกไปจากตัว แบตเตอรี่ การเสียแก๊สและน้ำออกไปก็เท่ากับว่า แบตเตอรี่ ได้สูญเสียอิเล็กทรอไลต์ออกไปจากระบบ เพราะแก๊สและน้ำเป็นส่วนประกอบของอิเล็กทรอไลต์ เมื่อ แบตเตอรี่ มีปริมาณอิเล็กทรอไลต์น้อยลงจะสูญเสียความสามารถในการเก็บพลังงานไป ทำให้แรงดันไฟฟ้าหรือโวลต์ของแบตเตอรี่หลังจากการชาร์จไม่สูงเท่าที่ควรจะเป็น และถ้า แบตเตอรี่ มีการเสียแก๊สและน้ำบ่อย ๆ อิเล็กทรอไลต์ภายในเซลส์ก็จะหมดไปทำให้ แบตเตอรี่ ใช้งานไม่ได้อีก 

ใช้และเก็บอย่างถูกวิธี

          แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดจะไม่มีการจำว่า ก่อนชาร์จ แบตเตอรี่ มีประจุเหลืออยู่เท่าไรหรือเมมอรี่เอฟเฟค (Memory Effect) ต่างจากแบตเตอรี่ แบบนิกเกิลแคดเมี่ยม ถ้า แบตเตอรี่ มีประจุเต็มอยู่แล้วการนำไปชาร์จโดยการให้กระแสต่ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ แบตเตอรี่ จะไม่เสีย แต่มันไม่ชอบการคายประจุที่ลึกมาก ๆ โดยเฉพาะการคายประจุจนหมด ทุกครั้งที่เราดิสชาร์จมันลึกมาก ๆ จะทำให้ความสามารถในการเก็บประจุของมันลดลง ส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลง ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องใช้งานจน แบตเตอรี่ ประจุหมดบ่อย ๆ ควรป้องกันการคายประจุที่ลึกมากเกินไป โดยเลือกใช้ แบตเตอรี่ ที่มีขนาดใหญ่ ขึ้นความจุสูงขึ้น(แอมป์ชั่วโมงมากขึ้น) เพื่อไม่ให้ แบตเตอรี่ คายประจุลึกมากนัก

          การทิ้ง แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดไว้เฉย ๆ เป็นเวลานาน แบตเตอรี่ จะคายประจุออกไปเรื่อย ๆ ด้วยตัวมันเอง (Self Discharge) ถ้าไม่ชาร์จเพื่อเติมประจุให้กับ แบตเตอรี่ ผลึกของตะกั่วซัลเฟตที่เกิดขึ้นที่แผ่นธาตุลบจะรวมตัวกันแล้วมีขนาดใหญ่ขึ้น ผลึกที่มีขนาดใหญ่นี้จะไปขัดขวางการไหลของกระแสทำให้กระแสไหลได้น้อยลง ส่งผลให้ แบตเตอรี่ จ่ายกระแสให้กับโหลดได้น้อยลง นอกจากนี้ผลึกที่มีขนาดใหญ่จะมีเหลี่ยมหรือมุมที่คมและแหลม ในกรณีที่ร้านแรงอาจจะทิ่มจนแผ่นธาตุทะลุได้ ทำให้ แบตเตอรี่ เกิดการลัดวงจรขึ้นภายในเราจะเรียกปรากฎที่เกิดผลึกขนาดใหญ่ของตะกั่วซัลเฟตนี้ว่าการเกิดซัลเฟชั่น (Sulphation)

          การเกิดซัลเฟชั่นจะยิ่งง่ายขึ้นถ้าทิ้ง แบตเตอรี่ ไว้โดยที่มันมีประจุเหลืออยู่น้อยหรือไม่เหลืออยู่เลย ดังนั้นจึงควรเก็บแบตฯ ไว้โดยการชาร์จให้ประจุเต็มอยู่เสมอ โดยอาจจะชาร์จเติมประจุโดยใช้กระแสต่ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ ซึ่งเรียกว่าทริกเกิลชาร์จ หรือโฟลทชาร์จซึ่งการชาร์จแบบนี้มักจะพบในระบบสำรองไฟฟ้าหรือระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉิน เพื่อให้แบตฯ มีประจุอยู่เต็มตลอดเวลาเป็นการรักษาแบตฯ และทำให้แบตฯ พร้อมที่จะจ่ายพลังงานเมื่อระบบไฟฟ้าหัลกขัดข้องหรือจ่ายกระแสให้กับระบบไฟส่องสว่างเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือไฟฟ้าดับ

          การชาร์จแบตฯ ตะกั่วกรดโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 8-16 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับขนาดความจุของแบตฯ) โดยแบตฯ แบบแห้งจะชาร์จได้ช้ากว่าแบบเปียก เพราะจะต้องลดอัตราการชาร์จลงเพื่อไม่ให้เกิดแก๊สขึ้นภายในเซลส์มากเกินไป การสะสมของแก๊สจะทำให้ความดันภายในเซลส์สูงขึ้น ทำให้สูญเสียอิเล็กทรอไลต์ไปจากการระบายแก๊สหรือน้ำออกทางรูระบายหรือเซฟตี้วาล์ว หรืออาจทำให้แบตฯ ถึงขั้นแตกเสียหายได้ถ้าชาร์จเร็วสูงทำให้ความดันสูงไปด้วยจนเซฟตี้วาล์วระบายความดันไม่ทัน 

เรื่องของแผ่นธาตุ

          แผ่นธาตุของแบตฯ ที่เสื่อมสภาพจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน หรือการบำรุงรักษาการใช้งานที่ไม่ถูกต้องแบตฯ จะแสดงพฤติกรรมเหมือนกับแบตฯ ที่ยังดีอยู่ คือยังดูเหมือนว่ามีประจุอยู่เต็มแต่ในความเป็นจริงความจุของมันจะลดลง (เหมือนใช้แบตฯที่ขนาดเล็กลง) แบตฯยังสามารถทำงานได้อยู่แต่ประจุจะหมดเร็วขึ้นหรืออาจจะจ่ายกระแสได้ไม่เพียงพอกับความ ต้องการของอุปกรณ์

          เพื่อเป็นการเพิ่มอายุการใช้งานของแผ่นธาตุในบางครั้งจะมีการเติมสารตัวอื่นเข้าไปในแผ่นธาตุด้วย เช่นแบบ AGM อาจจะใช้แผ่นธาตุที่เป็นตะกั่วแคลเซี่ยม (Lead Calcium) หรือแบตฯ แบบคายประจุได้ลึก ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือในรถยกไฟฟ้า

จะใช้แผ่นธาตุชนิดตะกั่วพลวง ซึ่งสารที่ใช้ทำแผ่นธาตุมักจะเขียนบอกอยู่ที่เปลือกของแบตเตอรี่สำหรับแบตฯ ที่ใช้แผ่นธาตุชนิดตะกั่วพลวงนอกจากจะทำให้อายุการใช้งานของแผ่นธาตุมากขึ้นแล้ว แผ่นธาตุยังมีความแข็งแรงทางกลเพิ่มขึ้นอีกด้วยเหมาะกับการใช้งานในรถยกไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ที่ต้องการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา แต่ก็มีข้อเสียคือแบตฯแบบตะกั่วพลวงนี้จะมีอัตราคายประจุด้วยตัวมันเอง มากและมีการสูญเสียน้ำและแก๊สมาก ทำให้ต้องตรงจสอบระบดับของน้ำกรดและเพิ่มเติมน้ำกลั่นบ่อยกว่าแบตฯที่ใช้แผ่นธาตุเป็นตะกั่วหรือตะกั่วแคลเซียม 

อัตราการคายประจุ

          อัตราการคายประจุหรืออัตราการดิสชาร์จ หรือที่เรียกว่า ซีเรท ของ แบตเตอรี่ ตะกั่วกรด ไม่ควรเกิน 0.2 C หรือ 20% ของความจุ ถ้าอัตราการดิสชาร์จมากขึ้นประสิทธิภาพของมันจะลดลง แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรจะดิสชาร์จในอัตราที่มากกว่า 1 C สรุปก็คือ แบตเตอรี่ แบบตะกั่วกรดนี้ชอบคายประจุน้อยนิดหน่อยแล้ว ก็ชาร์จจึงจะทำให้มันมีอายุยืนยาวกว่าการคายประจุมาก ๆ หรือการใช้ประจุจนหมดแล้วจึงชาร์จ

          รอบของการใช้งาน (Cycle) โดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 200-300 รอบขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน ความลึกของการคายประจุหรือเรียกย่อว่า DOD, การชาร์จ การบำรุงรักษาและอุณหภูมิในการใช้งานสาเหตุหลักที่ให้แบต ฯ อายุการใช้งานลดลงก็คือการกัดกร่อนที่แผ่นธาตุบวก ซึ่งการกัดกร่อนนี้จะมากขึ้นที่อุณหภูมิสูงขึ้น 

อุณหภูมิกับอายุการใช้งาน

          อุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้งานอยู่ที่ 25 องศา (77 ฟาเรนไฮต์) อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 8 องศา (15 ฟาเรนไฮต์) จะทำให้อายุการใช้งานของแบตฯลดลงครึ่งหนึ่ง เช่น แบตเตอรี่ แบบ VRLA จะมีอายุถึง 10 ปีที่อุณหภูมิ 25 องศา แต่จะลดลงเหลือ 5 ปี ที่อุณหภูมิ 33 องศา (95 ฟาเรนไฮต์) และอายุเหลือไม่ถึง 1 ปีที่อุณหภูมิ 42 องศา (107 ฟาเรนไฮต์) นอกจากนี้มันยังทำงานได้ไม่ดีในที่อุณหภูมิต่ำอีกด้วยอุณหภูมิที่ลดต่ำลงจะทำให้แบตฯ เก็บประจุได้น้อยลง ความจุของ แบตเตอรี่ จะลดลง 50 % ทุกๆ อุณหภูมิที่ต่ำลง 12 องศา (22 ฟาเรนไฮต์) ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมในตอนเช้าที่อากาศเย็นเราถึงสตาร์ทรถติดได้ยากแต่การใช้งานที่อุณหภูมิต่ำก็จะทำให้อายุการใช้งานของมันยาวนานมากขึ้นด้วยเช่นกัน 

การเก็บรักษากับคายประจุ

          การคายประจุโดยตัวมันเอง (Self Discharge) น้อยมาก ถ้าเป็น แบตเตอรี่ แบบเปียกอัตราการคายประจุประมาณ 40% ต่อปี (เทียบกับนิกเกิลแคดเมียมที่มีอัตราการคายประจุโดยตัวมันเองอยู่ที่ 20% ต่อเดือน) ส่วนแบตฯ แบบแห้งจะมีอัตราการคายประจุน้อยกว่าแบบเปียกโดยเฉพาะแบตฯ AGM รุ่นใหม่ ๆ บางชนิด    อัตราการคายประจุด้วยตัวมันเองจะไม่เกิน 2% ต่อเดือน นอกจากนี้ แบตเตอรี่ แบบตะกั่วกรดถึงจะมีราคาถูกแต่ถ้าเป็นแบตฯ แบบที่ต้องเติมน้ำกลั่นก็จะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นมา คือต้องคอยตรวจสอบระดับของน้ำกรด (อิเล็กทรอไลต์) เพื่อเติมน้ำกลั่นเมื่อระดับของน้ำกรดต่ำเกินไปและต้องหมั่นทำความสะอาดคราบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดเนื่องจากการกัดกร่อนของกรด อีกทั้งยังต้องระวังในเรื่องสถานที่ตั้งของแบตฯ ด้วย ไม่ควรตั้งไว้ใกล้แหล่งความร้อนหรือประกายไฟเพราะในขณะชาร์จ (โดยเฉพาะถ้าชาร์จโดยเปิดฝาปิดของแบตฯ ) จะเกิดแก๊สไฮโตรเจนขึ้น อาจทำให้ระเบิดได้

          ถ้าเปรียบเทียบกับ แบตเตอรี่ ชาร์จได้ชนิดใหม่ ๆ แล้วที่น้ำหนักเท่า ๆ กันแบตฯตะกั่วกรดจะมีความสามารถในการเก็บประจุได้น้อยกว่า จึงไม่เหมาะที่จะนำมาทำเป็นแบตเตอรี่สำหรับอุปกรณ์พกพาซึ่งต้องการแบตฯ ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เพราะจะทำให้กำลังไฟได้น้อย ทำให้ต้องชาร์จแบตฯ บ่อยจนเกินไป หรือทำให้อุปกรณ์มีน้ำหนักมากจนเกินไป แต่เนื่องจากราคาต้นทุนต่อพลังงานที่ได้ต่ำกว่าแบตฯ ชาร์จได้ชนิดอื่นจึงนิยมนำมาทำแบตฯขนาดใหญ่ที่มีความจุมาก หน่วยความจุของแบตฯ ตะกั่วกรดโดยทั่วไปจะวัดเป็นแอมป์ชั่วโมง(Amp-Hour or  Ah) ในขณะที่แบตฯ ชาร์จ ได้แบบอื่นส่วนมากจะใช้หน่วยเป็นมิลลิแอมป์ชั่วโมง (mAh) เนื่องจากเป็นแบตฯ ขนาดเล็กมีขนาดความจุน้อยกว่าแบตฯ ตะกั่วกรดนั่นเอง 

อันตรายและการนำกลับมาใช้ใหม่

          ในด้านความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม แบตฯ ตะกั่วกรดแม้จะมีอันตรายน้อยกว่าแบตฯ นิกเกิล-แคดเมี่ยม แต่ตะกั่วซึ่งเป็นโลหะหนักและกรดซัลฟุริกก็ยังเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเปลือก (Case) ซึ่งทำจากพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นจำพวกเอบีเอส (ABS) เพียง 45% หรือขวดแก้วที่ได้เพียง 26% เท่านั้น 

ข้อดี

          - ราคาถูกกว่าแบตฯ ชนิดอื่นและสามารถผลิตได้ง่าย

          - มีการพัฒนามานานแล้ว จึงมีความเชื่อถือได้และหาข้อมูลได้ง่าย

          - ถ้าใช้อย่างถูกต้องจะทนทานมาก

          - การคายประจุโดยตัวมันเอง (Self Discharge) น้อย

          - ไม่ต้องการการบำรุงรักษามากนักโดยเฉพาะแบตฯ แบบแห้ง

          - ไม่เกิดการจดจำ (No Menory Effect)

          - สามารถให้กระแสดิสชาร์จได้มาก

          - มีขนาดให้เลือกมาก

ข้อด้อย

          - ความจุของพลังงานต่อน้ำหนักต่ำทำให้มีน้ำหนักมาก

          - ไม่สามารถเก็บไว้ได้โดยแบตฯ ไม่มีประจุ เพราะจำทำให้แบตฯ เสื่อมสภาพเร็ว

          - ตะกั่วและกรดซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม

          - มีระเบียบที่เข้มงวดในการขนส่งโดยเฉพาะแบตฯ แบบเปียก เพราะอาจเกิดการหกหรือซึมของกรดออกจากเปลือก แบตเตอรี่ได้ 

คำศัพท์

          ความลึกขอกงารคายประจุหรือความลึกของการดิสชาร์จ (Depth of Discharge หรือเรียกย่อ ๆ ว่า DoD) คือระดับของการคายประจุ เช่นถ้าแบตฯสามารถเก็บประจุไว้ได้ 100%  ถ้าเราดิสชาร์จประจุไป 10% หรือ 20% การดิสชาร์จประจุไป 20% ก็จะถือว่ามีความลึกของการดิสชาร์จมากกว่าการใช้ไปแค่ 10% ดังนั้น ถ้าเราใช้แบตฯ จนประจุเกือบหมดหรือหมดเลย ก็จะถือว่ามีความลึกของ การดิสชาร์จมาก ซึ่งการดิสชาร์จที่ลึกมาก ๆ ไม่สมควรใช้กับแบตฯ แบบตะกั่วกรด เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของมันสั้นลง

          การดิสชาร์จในช่วงแคบ (Shallow Discharge) หรือการดิสชาร์จตื้นจะตรงกันข้ามกับการดิสชาร์จลึก (Deep Discharge)    คือการใช้แบตฯ ไปสักเล็กน้อย เช่น 10% หรือ20% ของความจุทั้งหมดแล้วก็ชาร์จใหม่ แขตฯแบบตะกั่วกรด จะชอบการใช้งานแบบนี้

          ซัลเฟชั่น (Sulphation) การเกิดผลึกขนาดใหญของตะกั่วซัลเฟตไปเกาะที่อิเล็กโทรดลบ (แผ่นธาตุลบ) ซึ่งผลึกจะไปขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้ามีสาเหตุมาจากการเก็บ แบตเตอรี่ ไว้โดยมีประจุในแบตเตอรี่น้อยเกินไป

          การชาร์จแบบทริกเกิลและโฟลท (Trickle Charge, Float Charge, Topping Charge) เป็นการชาร์จโดยให้กระแสกับแบตฯ น้อยๆ ส่วนมากจะใช้ในการชาร์จเพื่อชดเชยประจุ (หลังจากชาร์จประจุของแบตฯ ที่มีประจุเต็มแล้ว) เมื่อประจุของแบตฯ ลดลงเนื่องจากการคายประจุด้วยตัวมันเอง (Self Discharge) หรือเพื่อเติมประจุในขั้นตอนการชาร์จขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้แบตฯ มีความจุเต็ม 100% จริง

          ซีเรท (C-Rate) หน่วยของการชาร์จและติดชาร์จ จะคิดเป็นจำนวนเท่าของความจุของแบตฯ เช่น แบตฯ ขนาด 80 แอมป์ ชั่วโมง (Ah) ถ้าให้มันดิสชาร์จ ที่ 1C ก็คือให้มันดิสชาร์จกระแส 80 แอมป์ ซึ่งจะใช้งานได้ 1 ชั่วโมงแบตฯ ก็จะหมด แต่ถ้าดิสชาร์จที่ 0.5 C ก็คือให้มันดิสชาร์จกระแสที่40 แอมป์ซึ่งจะใช้งานแบตฯ ได้ 2 ชั่วโมง หรือถ้าให้แบตฯ ดิสชาร์จที่ 2 C  ก็คือให้มันดิสชาร์จกระแส 160 แอมป์ ซึ่งจะใช้งานได้แค่ 30 นาที เป็นต้น สำหรับ แบตเตอรี่ แบบตะกั่วกรดการดิสชาร์จที่ซีเรทมากขึ้นประสิทธิภาพจะลดลง เช่น แบตเตอรี่ ขนาด 80 แอมป์ชั่วโมง ถ้าดิสชาร์จที่ 1 C ในทางปฎิบัติแล้วมันจะจ่ายกระแสได้ไม่ถึง 1 ชั่วโมง

 

 

      ที่มา      http://www.germanic.co.th/thai/article.php

Tags : แบตเตอรี่รถยนต์

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

view